[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by Kusawd Sisaket
อบต.คูซอด :: ยินดีต้อนรับ
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ผู้บริหารท้องถิ่น

นายจรูญศักดิ์ ปัชฌาบุตร
นายก อบต.คูซอด
โทร. 081-976-3803



นายวาทิต เกตุงาม
รอง นายก อบต.คูซอด
โทร. 062-196-8939



นายไพโรจน์ โนนใหญ่
รอง นายก อบต.คูซอด
โทร. 085-492-4212
เมนูหลัก
การบริหารเงินงบประมาณ
-ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
-แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
-รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ 6 เดือน
-รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
-แบบประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน(LPA)
การบริหารการพัฒนาบุคลากร





ข้อบัญญัติตำบล

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2563
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2565
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด เรื่อง  การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2565

- ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2562
- ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ. 2562
- ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด เรื่อง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2559


  

  หมวดหมู่ : ประชาสัมพันธ์รณรงค์การคัดแยกขยะ เพื่อการลด คัดแยกขยะในครัวเรือน
เรื่อง : รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ การคัดแยกขยะในครัวเรือน
โดย : kusawd
เข้าชม : 53
อังคาร ที่ 23 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2562 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้ร่วมกันลดปริมาณขยะด้วยวิธีการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยหลัก 3 R 

ก่อนอื่น ก็ต้องรู้จักประเภทของขยะกันก่อนนะค่ะ

ขยะมี 4 ประเภท ได้แก่

1. ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทาน และการประกอบอาหาร สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้ จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ 46 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีเขียว เพื่อจะนำไปทำปุ๋ยหมัก 

2. ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้
 เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 42 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีเหลือง เพื่อจะถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่

3. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล
 เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติก  จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ประมาณ 9 %  ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีน้ำเงิน เพื่อจะถูกนำไปฝังกลบรอการย่อยสลาย

 4. ขยะพิษ หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย 
 ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 3 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีแดง เพื่อจะนำไปกำจักอย่างถูกวิธี



วิธีการลดปริมาณขยะในครัวเรือน 
1. ลดการใช้ (Reduce) ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ (Refuse) และ  เลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์สู่ผู้ผลิตได้ (Return)

2. ใช้ซ้ำ (Reuse) ใช้ซ้ำ เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การใช้ซ้ำเป็นการที่เรานำสิ่งต่างๆ ที่ใช้งานไปแล้ว และยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้อีก เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

3. รีไซเคิล (Recycle) รีไซเคิล เป็นการนำวัสดุต่างๆ อย่างเช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ฯลฯ มาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยแล้ว ยังเป็นการลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม


ที่มา:กรมควบคุมมลพิษ



ด้วยความปราถนาดีจาก สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

ประชาสัมพันธ์รณรงค์การคัดแยกขยะ เพื่อการลด คัดแยกขยะในครัวเรือน5 อันดับล่าสุด

      รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ การคัดแยกขยะในครัวเรือน 23/ก.ค./2562